Last updated: 28 พ.ค. 2567 | 320 จำนวนผู้เข้าชม |
การไปพบกับตัวแทนประกันชีวิตหรือที่ปรึกษาการเงิน บางครั้งอาจจะได้เจอกับคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย หากเรารู้ความหมายของคำศัพท์พวกนั้นก่อนเป็นพื้นความรู้ น่าจะทำให้การสนทนาวางแผนต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
ประกันจะแบบออกเป็นสองส่วนหลัก ๆ คือ ประกันที่เป็นส่วนสัญญาหลัก และประกันที่เป็นสัญญาเพิ่มเติม ให้ลองนึกถึงขบวนรถไฟ ซึ่งจะมีส่วนที่เป็นหัวขบวนและส่วนที่เป็นโบกี้ต่อ ๆ กันด้านหลัง ประกันสัญญาหลักเปรียบเหมือนหัวขบวนรถไฟ ในการทำประกันส่วนที่เป็นสัญญาหลักจำเป็นต้องมีเสมอไม่มีไม่ได้ เหมือนขบวนรถไฟที่จำเป็นต้องมีส่วนหัวรถจักรเสมอ หากไม่มีรถไฟทั้งขบวนจะไม่สามารถเดินหน้าไปได้
สัญญาเพิ่มเติม จะเป็นประกันที่อยู่ในกลุ่ม ค่ารักษาพยาบาล ชดเชยโรคร้ายแรง ชดเชยอุบัติเหตุ ชดเชยการนอนโรงพยาบาล ฯลฯ ซึ่งจะเปรียบเสมือนโบกี้รถไฟ เราสามารถเลือกสัญญาที่เหมาะสมและปรับเปลี่ยนความคุ้มครองได้ตามความต้องการ หรือในบางกรณี เราไม่ต้องการทำสัญญาเพิ่มเติม เราก็ไม่ต้องทำในส่วนนี้ก็ได้
ทุนประกันชีวิต คือ ความคุ้มครองชีวิต เช่น แผนประกันชีวิตนี้มีทุนประกันชีวิต 1,000,000 บาท ก็คือ แผนประกันนี้มีความคุ้มครองชีวิต 1,000,000 บาท ถ้าคนที่ทำประกันจากไป ก็จะได้เงินสด 1,000,000 บาทเป็นทุนสำรองให้กับคนที่ที่บ้าน
คือจำนวนเงินที่เราจ่ายไปเพื่อซื้อประกัน เช่น แผนประกันชีวิตที่มีทุนประกัน 1,000,000 บาท ต้องจ่ายเงินเพื่อทำประกันปีละ 25,000 บาท ก็คือ แผนประกันนี้เบี้ย 25,000 บาทนั้นเอง
ในการคุยรายละเอียดเกี่ยวกับแผนประกันค่ารักษาพยาบาล บางครั้งเราจะได้ยินคำว่า "ค่าห้อง" ซึ่งในที่นี้จะหมายถึง ค่าห้อง และ ค่ารักษาพยาบาล โดยปกติแล้วบริษัทประกันจะออกแบบแผนค่ารักษาพยาบาลออกเป็นหลาย ๆ แผน แตกต่างกันไปตามความคุ้มครองและเบี้ยประกัน ซึ่งส่วนที่เราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนคือ วงเงินในส่วนค่าห้อง ตัวแทนจึงมักเรียกแต่ละแผนว่า ค่าห้อง นั้นเอง
มูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ คือ มูลค่าเงินสดที่อยู่ในกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันชีวิตเกือบทุกแบบมักจะมีมูลค่าในตัวมันเอง ยิ่งเมื่อเวลาผ่านไปนาน มูลค่าก็เพิ่มมากขึ้นด้วย เราสามารถถอนเงินมูลค่าฯ นี้ออกมาใช้ได้ โดยเสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากธนาคารพอสมควร และเมื่อยกเลิกกรมธรรม์ก่อนระยะเวลาความคุ้มครอง บริษัทประกันก็จะคืนมูลค่ากรมธรรม์นี้กลับมาให้ด้วย ซึ่งมูลค่ากรมธรรม์ที่คืนมาอาจจะมากหรือน้อยกว่าเบี้ยประกันสะสมที่ส่งไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับรายละเอียดที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งผุ้เอาประกันสามารถศึกษาได้ทั้งหมด
เงินคืนตามสัญญา คือ เงินที่จะคืนให้ผู้ทำประกัน ตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น จะมีเงินคืนให้ทุก ๆ ปี ปีละ 2,000 มักมีอยู่ในประกันแบบออมทรัพย์ หรือ เงินคืนเมื่อครบสัญญา ซึ่งจะมีอยู่ในทั้งประกันชีวิตแบบปกติและประกันแบบออมทรัพย์
19 ก.ย. 2565
28 พ.ค. 2566
13 ม.ค. 2565
2 ต.ค. 2564