Last updated: 28 พ.ค. 2567 | 319 จำนวนผู้เข้าชม |
สำหรับมือใหม่หรือมือเก๋าบางท่านที่ยังสับสนเกี่ยวคำศัพท์ต่าง ๆ เวลาที่จะยื่นภาษี เช่น เงินได้พึ่งประเมิน กับ เงินได้สุทธิ ต่างกันอย่างไร มันคืออะไรกันแน่ บทความนี้จะช่วยให้ท่านเข้าใจคำศัพท์ต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น
เงินได้พึงประเมิน = รายได้ที่กฏหมายกำหนดให้เราต้องนำมายื่นภาษี เช่น
ค่าใช้จ่าย = สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฏหมายมอบให้ ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ที่ท่านได้รับ เป็นเหมือนต้นทุนในการทำงานเพื่อให้เกิดรายได้
ค่าลดหย่อน = เป็นสิทธิ์เพิ่มเติมที่ทางกฏหมายเปิดช่องให้เราสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานะโดยรวมของเราและจะไม่เกี่ยวข้องกับเงินที่เราหามาได้ เช่น การทำประกัน ซื้อกองทุนฯ มีบุตร แต่งงาน ดูแลพ่อแม่ กู้ซื้อบ้าน ฯลฯ
เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
อัตราภาษี = % ที่นำมาคำนวณภาษี จะมากน้อยขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี |
0 - 150,000 | ยกเว้น |
150,001 - 300,000 | 5% |
300,001 - 500,000 | 10% |
500,001 - 750,000 | 15% |
750,001 - 1,000,000 | 20% |
1,000,001 - 2,000,000 | 25% |
2,000,001 - 5,000,000 | 30% |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% |
เงินภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
2 ต.ค. 2564
28 พ.ค. 2566